
ทำความรู้จัก “ภูมิแพ้แฝง” อย่างแท้จริง เราจำเป็นต้องเจาะเลือดตรวจและงดอาหารที่แพ้ทั้งหมดหรือไม่
รศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน แพทย์สาขาวิชาโรคจมูก และโรคภูมิแพ้ ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่า ภูมิแพ้ คือ “อาการที่ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบโต้กับสิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม แตกต่างไปจากคนปกติทั่วไป ร่างกายของคนที่เป็นโรคภูมิแพ้แทนที่จะสร้างภูมิต้านทานโรคกลับไป สร้างภูมิชนิดที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้แทน ภูมิชนิดนี้เรียกว่า ไอ-จี-อี หรือ IgE”
สารที่กระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ มีตั้งแต่ภูมิแพ้ฝุ่น เกสรดอกไม้ หรือขนสัตว์ แต่ที่มักจะเป็นกันบ่อยๆ คือ ภูมิแพ้อาหาร
หลายคนมีอาการภูมิแพ้อาหารที่ค่อนข้างชัดเจน เช่น แพ้กุ้ง แพ้ปู แพ้ถั่ว กินแล้วมีอาการผิดปกติ เช่น ผื่นขึ้น คันผิวหนัง ปากบวม ฯลฯ หากมีอาการหนักมากอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
แต่นอกจากภูมิแพ้อาหารปกติ ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า “ภูมิแพ้แฝง” ที่อาจทำให้คนสับสนว่ามีความแตกต่างจากภูมิแพ้ปกติอย่างไร
ภูมิแพ้แฝง คืออะไร
จริงๆ แล้ว คำว่า “ภูมิแพ้แฝง” ไม่มีบัญญัติในการแพทย์มาตรฐาน
ภูมิแพ้อาหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
-
ภูมิแพ้อาหารเฉียบพลัน (Food Allergy)
ร่างกายแสดงอาหารผิดปกติหลังกินอาหารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้เข้าไป โดยระบบภูมิคุ้มกันทำงานเกินกว่าปกติ คิดว่าสิ่งที่กินเข้าไปเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงเกิดปฏิกิริยาเฉียบพลันเพื่อต่อต้านสิ่งที่กินเข้าไปทันที โดยมีอาการหลากหลาย ตั้งแต่มีผื่นคัน อาเจียน ท้องเสีย ช็อก หายใจติดขัด หอบ และอาจรุนแรงถึงชีวิตได้ อาการสามารถเกิดขึ้นได้หลังกินอาหารเข้าไปทันที ไปจนถึงช่วงระยะเวลาราวๆ 2-4 ชั่วโมงหลังกินเข้าไป
สามารถตรวจเลือดเพื่อยืนยันผลว่าเราแพ้อาหารชนิดจริงๆ ได้ ด้วยการตรวจเลือดหา specific IgE หรือภูมิชนิดที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้
-
ภูมิแพ้อาหารไม่เฉียบพลัน
ปัจจุบันยังไม่มีการส่งตรวจเลือดใดที่ช่วยยืนยัน
รู้จักอาการ “ทนต่ออาหารไม่ได้” (Food Intolerance)
- ขอบคุณข่าวจาก https://healthh888.blogspot.com/ |